อาการ ใบไม้ร่วง เกิดขึ้นตามฤดูกาล หรือ เป็นสัญญาณบอกเหตุ

ใบไม้ร่วง

อาการ ใบไม้ร่วง สามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม เช่น การเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล การขาดน้ำ โรคพืชและแมลง หรือสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว เดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม ซึ่งเป็นกลไกการปรับตัวของต้นไม้เพื่อเตรียมตัวสำหรับฤดูหนาว ต้นไม้หลายชนิดจะเริ่มทิ้งใบเพื่อช่วยลดการสูญเสียน้ำและพลังงานในช่วงที่สภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย แต่ในขณะเดียวกันการขาดน้ำหรือความแห้งแล้งอาจเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ต้นไม้ลดการใช้น้ำโดยการปล่อยใบไม้ร่วงเพื่อรักษาสมดุลน้ำภายในลำต้น  

โรคพืชและแมลงศัตรูพืชเป็นสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้ใบไม้ร่วง เช่น โรคราแป้ง (powdery mildew) หรือโรคใบจุด (leaf spot) ซึ่งทำให้ใบไม้แสดงอาการเหลืองและร่วง นอกจากนี้ แมลงศัตรูพืช เช่น เพลี้ยอ่อน (aphids) หรือหนอนเจาะใบ (caterpillars) สามารถกัดกินใบไม้จนทำให้ใบไม้เสียหายและหลุดร่วงได้ นอกจากนั้น สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น มลภาวะทางอากาศ ฝุ่นละออง หรือสารพิษ สามารถทำให้ต้นไม้เกิดความเครียด และทำให้ใบไม้ร่วง นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างฉับพลัน เช่น อากาศหนาวจัดหรือร้อนจัด ก็สามารถทำให้ใบไม้ร่วงได้เช่นกัน 

 การบำรุงรักษาต้นไม้ที่ไม่เหมาะสม เช่น การตัดแต่งกิ่งที่ไม่ถูกวิธี การใช้สารเคมีและปุ๋ยเกินความจำเป็น อาจส่งผลให้เกิดการสะสมของสารพิษในต้นไม้ ทำให้ใบไม้ร่วงมากผิดปกติ ป่วย และตายในที่สุด  

1. มีวิธีการสังเกตุต้นไม้เมื่อใบร่วงอย่างไร? 

2. วิธีการตรวจสอบอย่างไร? 

3. มีวิธีการแก้ไขปัญหาหรือจัดการกับใบไม้ร่วงอย่างไร? 

ขั้นตอนการสังเกตอาการ ใบไม้ร่วง 

   การสังเกตอาการจากใบไม้ร่วงต้องตรวจสอบหลายปัจจัยร่วมกัน ตั้งแต่ลักษณะใบไม้ การเปลี่ยนแปลงในต้นไม้ และสิ่งแวดล้อมรอบข้าง เพื่อวินิจฉัยปัญหาและหาวิธีแก้ไขได้อย่างเหมาะสม โดย เราจะแบ่งขั้นตอนการสังเกตุอาการของต้นไม้ออกเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ 

สังเกตที่ลักษณะของใบไม้ 

     หากใบไม้เริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองซีด  อาจแสดงถึงการขาดแร่ธาตุอาหาร เช่น ไนโตรเจน ซึ่งเป็นธาตุที่สำคัญที่มีส่วนในการเจริญเติบโตของต้นไม้ และหากใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแห้งหรือมีจุด อาจเกิดจากโรค เช่น โรคแอนอนแทรคโนส หรือเกิดจากแมลงศัตรูพืช เช่น เพลี้ยไฟ ที่ทำให้ใบแห้งและร่วง เป็นต้น  

     การเหี่ยวเฉา  ใบไม้ที่เหี่ยวเฉาก่อนร่วงอาจเป็นผลจากการขาดน้ำหรือรากต้นไม้มีปัญหา เช่น รากเน่าหรือรากถูกทำลาย ตัวอย่างเช่น ต้นไทรที่ปลูกในกระถาง หากรากเริ่มเน่า ใบจะเหี่ยวและร่วงก่อนเวลาอันควร  

ตรวจสอบจำนวนและลักษณะการร่วง 

     ใบร่วงเฉพาะบางส่วน  หากใบไม้ร่วงจากกิ่งส่วนบนหรือส่วนล่าง อาจเกี่ยวข้องกับโรคหรือแมลงที่ทำลายเฉพาะจุด ตัวอย่างเช่น ต้นส้มที่มีใบไม้ร่วงเฉพาะจากส่วนบน อาจเป็นเพราะเพลี้ยหรือแมลงเจาะกิ่งที่ชอบอยู่ในส่วนที่โดนแสงแดดมากกว่า 

     ร่วงในปริมาณมากผิดปกติ หากใบไม้ร่วงมากกว่าปกติ อาจเป็นสัญญาณของความเครียด เช่น การขาดน้ำ ปัญหาราก หรือดินแน่นเกินไป ตัวอย่างเช่น ต้นสนที่ใบไม้ร่วงในปริมาณมาก อาจเกิดจากการที่ดินมีการระบายน้ำไม่ดี ทำให้เกิดปัญหากับราก ส่งผลกับสุขภาพของต้นไม้ 

     ร่วงทั้งต้นพร้อมกัน ใบไม้ร่วงพร้อมกันในปริมาณมาก มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมอย่างกะทันหัน ทำให้ต้นไม่ปรับตัวไม่ทัน เช่น อากาศเย็นฉับพลันหรือมีลมพัดรุนแรง 

สังเกตใบไม้ที่ยังเหลืออยู่ 

     ขนาดใบเล็กลง ต้นไม้ที่มีใบขนาดเล็กกว่าปกติ อาจบ่งบอกถึงการขาดสารอาหารหรือขาดน้ำ เช่น ต้นพุดซ้อนที่ออกใหม่ใบเล็กกว่าปกติ อาจเกิดจากการขาดธาตุโพแทสเซียมหรือปริมาณน้ำที่ไม่เพียงพอ 

     การงอกใหม่ไม่สมบูรณ์ หากต้นไม้เริ่มแตกกิ่ง หรือ ใบใหม่แต่กลับมีจนาดเล็กและแคระแกร็น อาจเกี่ยวข้องกับปัญหาจากดินหรือระบบราก ตัวอย่างเช่น ต้นชบาที่ออกใบใหม่เล็กและไม่สมบูรณ์ อาจเป็นเพราะดินขาดธาตุอาหารหรือระบบรากถูกทำลายได้ 

ตรวจสอบส่วนอื่นของต้นไม้ 

      ไม่ว่าจะเป็น ลำต้น กิ่ง ราก ที่เกิดร่องรอยการ แตก ปริ หรือมีเชื้อราเกาะบริเวณพื้นผิว นี่อาจะเป็นสัญญาณของการถูกโจมตีโดย แมลงศัตรูพืช และเชื้อราบางชนิดได้เช่น โรคเชื้อรา Phomopsis ที่ทำให้กิ่งแห้งและตาย 

      นอกจากนี้ในไม้ผลหรือไม้ขนาดใหญ่ อาจะมีการร่วงของดอกหรือผลอย่างผิดปกติ หากดอกหรือผลร่วงพร้อมกับใบไม้ร่วง อาจเป็นสัญญาณของความเครียดจากสภาพแวดล้อม เช่น อากาศแห้งหรือการขาดน้ำรุ่นแรง  ซึ่งผู้ดูแลสวนจะต้องหมั่นตรวจสอบ และจัดตารางการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ  

สังเกตสิ่งแวดล้อมรอบต้นไม้ 

      การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดอาการร่วงของใบไม้ได้ หากใบไม้ร่วงหลังจากมีลมแรง อากาศหนาว หรือแสงแดดแรงเกินไป อาจเป็นผลจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งในส่วนของการควบคุมสภาพอากาศอาจทำได้ยาก แต่เราสามารถวางแผนการป้องกันเพื่อลดปัญหาใบร่วงไม่ให้รุนแรงได้ 

      คุณภาพของดิน หากดินแน่นเกินไปนอกจากจะส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้บางชนิดแล้ว หากมีสภาพลาดเอียงหรือเป็นแอ่งจะส่งผลให้เกิดน้ำขัง อาจทำให้รากขาดอากาศหายใจได้  

วิธีการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาจากผู้เชี่ยวชาญ 

เมื่อต้นไม้ใบร่วงผิดปกติ นั่นเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าต้นไม้กำลังเผชิญปัญหา ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น โรค แมลง สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หรือการขาดธาตุอาหาร นักพฤกษศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสวน จะใช้ความรู้และประสบการณ์ในการตรวจสอบต้นไม้ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและวางแผนการแก้ไขที่เหมาะสม ผ่าน 6 ขั้นตอนมาตรฐานได้แก่ 

  1. การสังเกตเบื้องต้น (Visual Inspection) 
  • ตรวจสอบข้อมูลต้นไม้และลักษณะของใบที่ร่วง เช่น ชนิดพันธ์ อายุ สี รูปร่าง ขนาด และตำแหน่งบนต้น 
  • สังเกตสภาพทั่วไปของต้นไม้ เช่น กิ่งแห้ง ลำต้นมีรอยแตก หรือมีเชื้อราขึ้น 
  • พิจารณาการกระจายตัวของใบที่ร่วงว่ามีลักษณะเฉพาะหรือไม่ เช่น ใบร่วงเฉพาะที่กิ่งบางส่วน หรือใบร่วงทั่วทั้งต้น 
  • ตรวจสอบใบที่เหลืออยู่บนต้นว่ามีความผิดปกติใด ๆ หรือไม่ เช่น มีรอยไหม้ รอยแผล หรือการเปลี่ยนแปลงของสีที่ผิดปกติ 
  • การตรวจสอบลักษณะการหดตัวของกิ่งและสภาพของเปลือกไม้ เพื่อบ่งชี้สัญญาณของปัญหาได้อย่างแม่นยำ 

การสังเกตอย่างละเอียดและเก็บข้อมูลเฉพาะของต้นไม้ช่วยให้สามารถระบุสาเหตุของอาการใบร่วง หรือ โรคต่างๆได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น เช่น การเกิดปัญหาจากสภาพแวดล้อมหรือโรคที่เฉพาะเจาะจง 

2. การตรวจสอบดิน (Soil Analysis) 

  • เก็บตัวอย่างดินรอบโคนต้นไปวิเคราะห์ค่า pH, ความชื้น, และธาตุอาหารที่จำเป็น เช่น ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, และโพแทสเซียม 
  • ตรวจสอบการระบายน้ำของพื้นที่โดยรอบว่าสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพหรือไม่ ความหนาแน่นของดินเหมาะสมกับพันธ์ไม้ที่ปลูกหรือไม่ ซึ่งทั้ง 2 สิ่งนี้ไม่สัมพันธ์กันอาจทำให้รากขาดอากาศและเสียหายได้ 
  • ตรวจหาสารพิษหรือโลหะหนักที่อาจมีอยู่ในดิน ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้ 
  • สังเกตว่าดินมีร่องรอยของการกัดกร่อนหรือการอัดแน่นจากการเหยียบย่ำหรือไม่ ซึ่งอาจส่งผลให้รากไม่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ 

การที่ผิวดินที่มีค่า pH ไม่เหมาะสมอาจทำให้ต้นไม้ไม่สามารถดูดซึมธาตุอาหารที่จำเป็นได้ ส่งผลให้เกิดการขาดธาตุอาหารและใบไม้ร่วง เช่นเดียวกันกับการที่มีดินแน่นเกินไปอาจทำให้รากขาดอากาศและเน่าเสีย ซึ่งจะทำให้ต้นไม้ไม่สามารถดูดซึมน้ำและสารอาหารได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ การตรวจสอบดินยังช่วยในการประเมินว่ามีการสะสมของเกลือหรือสารพิษที่อาจเป็นอันตรายต่อต้นไม้หรือไม่ ซึ่งสามารถทำให้รากไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ 

3. การตรวจสอบราก (Root Inspection) 

  • ขุดดินรอบโคนต้นเพื่อตรวจสอบสภาพรากว่ามีการเน่าหรือถูกทำลายหรือไม่ 
  • ตรวจสอบการแพร่กระจายของรากว่ามีการเติบโตอย่างเหมาะสมหรือไม่ รากที่ไม่เติบโตหรือหยุดการแพร่กระจายอาจเกิดจากปัญหาทางกายภาพของดินหรือปัจจัยอื่น ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 
  • สังเกตการกระจายของรากในพื้นที่ว่ามีความสม่ำเสมอหรือไม่ การกระจายตัวไม่สมดุลอาจบ่งบอกถึงปัญหาด้านสุขภาพของต้นไม้ 

การขาดรากฝอยหรือรากย่อยที่ทำหน้าที่ดูดซึมสารอาหารและน้ำ อาจเกิดจากโรคหรือแมลงในดิน เช่น เชื้อรา Phytophthora ที่เป็นสาเหตุของโรครากเน่า หากรากที่ขาดการแพร่กระจายหมายความว่าดินแน่นเกินไปหรือมีสิ่งกีดขวางการเจริญเติบโต ซึ่งจำเป็นต้องแก้ไขเพื่อให้รากเจริญเติบโตได้ดีขึ้น นอกจากนี้การตรวจสอบรากยังสามารถช่วยระบุปัญหาการเจริญเติบโตในส่วนลึกของดิน เช่น การที่รากไม่สามารถเจริญเติบโตลงลึกเนื่องจากการอัดตัวของดินหรือปัจจัยอื่น  

4. การตรวจสอบโรคและแมลง (Pest and Disease Diagnosis) 

  • เก็บตัวอย่าง ใบ หรือ กิ่ง ไปเพาะเชื้อในห้องปฏิบัติการ เพื่อระบุชนิดของเชื้อโรคที่มีอยู่ เช่น เชื้อรา แบคทีเรีย หรือไวรัส 
  • ใช้กล้องจุลทรรศน์หรือการวิเคราะห์ DNA เพื่อตรวจหาชนิดของแมลงศัตรูพืชที่อาจเข้ามาทำลายต้นไม้ เช่น เพลี้ยอ่อน หนอนเจาะลำต้น หรือแมลงอื่น ๆ 
  • ตรวจสอบสัญญาณภายนอก เช่น รอยกัด รอยแทะ หรือการเกิดรอยปูดบนลำต้น ซึ่งอาจเกิดจากแมลงที่เข้ามาวางไข่หรือเจาะทำลาย 
  • พิจารณาการแพร่กระจายของแมลงหรือโรคว่ามีการลุกลามไปยังต้นไม้ใกล้เคียงหรือไม่ เพื่อประเมินความรุนแรงของปัญหา 

การสังเกตการแพร่ระบาดของแมลง และ ผลจากการวิเคราะห์ผ่านห้องปฏิบัติการ สามารถช่วยให้วางแผนการควบคุมและป้องกันได้ดียิ่งขึ้น เช่น การใช้สารป้องกันโรคหรือการใช้วิธีการจัดการทางชีววิทยา หรือการวางแผนการควบคุมการแพร่กระจายได้อย่างมีประสิทธิภาพ  

5 ประเมินปัจจัยแวดล้อม (Environmental Assessment) 

  • ตรวจสอบสภาพอากาศ ทั้งอุณหภูมิ ความชื้น แสงแดด ลม และปริมาณน้ำฝนที่ต้นไม้ได้รับ การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของอุณหภูมิหรือความชื้นอาจทำให้ต้นไม้เกิดความเครียดและใบไม้ร่วงได้ 
  • ตรวจสอบมลภาวะ มลพิษทางอากาศ น้ำ หรือดิน อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของต้นไม้ เช่น การสะสมของสารพิษในดินจากมลภาวะอาจทำให้รากต้นไม้ไม่สามารถดูดซึมธาตุอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
  • ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การก่อสร้าง การตัดไม้ทำลายป่า หรือการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินอาจทำให้สภาพแวดล้อมของต้นไม้เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ต้นไม้ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ ตัวอย่างเช่น การก่อสร้างอาคารใกล้กับพื้นที่ที่มีต้นไม้ใหญ่ อาจทำให้รากถูกทำลายหรือดินถูกบีบอัด ทำให้ต้นไม้เกิดความเครียดและใบไม้ร่วงได้เช่นกัน 

การประเมินปัจจัยแวดล้อมจะช่วยให้สามารถวิเคราะห์และระบุปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของต้นไม้ได้อย่างครบถ้วน ทำให้สามารถวางแผนการดูแลและแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ 

6 การวิเคราะห์สารอาหารในพืช (Plant Tissue Analysis) 

  • เก็บตัวอย่างพืช เก็บตัวอย่างใบที่มีความแตกต่างกัน เช่น ใบอ่อนและใบแก่ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการสะสมของธาตุอาหารในแต่ละช่วงอายุของใบ  
  • วิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหาร ทำการวิเคราะห์ธาตุอาหารหลัก เช่น ไนโตรเจน (N), ฟอสฟอรัส (P), และโพแทสเซียม (K) รวมถึงธาตุอาหารรอง เช่น แคลเซียม (Ca), แมกนีเซียม (Mg) และธาตุอาหารจุล เช่น สังกะสี (Zn), ทองแดง (Cu) การวิเคราะห์นี้ช่วยให้ทราบว่าต้นไม้มีการขาดหรือเกินธาตุอาหารใด ตัวอย่างเช่น ในการปลูกสตรอเบอร์รี่ การขาดธาตุแคลเซียมอาจทำให้เกิดอาการปลายใบไหม้ (tip burn) 
  • ตรวจหาสารพิษ เช่น โลหะหนักหรือสารเคมีตกค้างจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช การตรวจหาสารพิษนี้ช่วยในการประเมินว่าพืชมีการสะสมสารที่เป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตหรือไม่  

การวิเคราะห์สารอาหารในพืชเป็นขั้นตอนที่ช่วยให้เราสามารถปรับปรุงการบำรุงรักษาและให้ปุ๋ยได้อย่างแม่นยำ ทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดีและมีสุขภาพที่แข็งแรง 

วิธีการป้องกันและจัดการกับใบไม้ร่วง 

หลังจากทราบสาเหตุของปัญหาแล้ว จะมีวิธีแก้ไขที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของพันธ์ไม้อายุ แหล่งที่มาและสภาพแวดล้อมปัจจุบัน ซึ่งหากต้นไม้ที่เกิดปัญหาเป็น ต้นไม้อนุรักษ์ ต้นไม้สำคัญ หรือ ต้นไม้สัญลักษณ์ขององค์กร จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการดูแลและแก้ไขปัญหาจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยในภาพรวมของการแก้ไขปัญหา ใบไม้ร่วง มีดังนี้ 

  • ปรับปรุงสภาพดิน เพิ่มอินทรียวัตถุในดิน เช่น ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดินและเพิ่มความสามารถในการระบายน้ำ การปรับปรุงสภาพดินช่วยให้รากต้นไม้สามารถดูดซึมธาตุอาหารได้ดีขึ้น 
  • ควบคุมการให้น้ำ ปรับปริมาณและความถี่ในการรดน้ำให้เหมาะสมกับสภาพอากาศและความต้องการของต้นไม้ เพื่อป้องกันการขาดน้ำหรือการรดน้ำมากเกินไป ตัวอย่างเช่น การใช้ระบบน้ำหยดเพื่อควบคุมปริมาณน้ำที่ให้กับต้นไม้ได้อย่างแม่นยำ 
  • กำจัดโรคและแมลง ใช้สารเคมีชีวภาพ หรือวิธีการทางชีวภาพในการควบคุมโรคและแมลง เช่น การใช้สารสกัดจากพืชธรรมชาติหรือน้ำหมักชีวภาพเพื่อลดการสะสมของสารเคมีในดิน 
  • ป้องกันการขาดธาตุอาหาร ใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมตามความต้องการของต้นไม้ เช่น การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเพื่อช่วยให้ใบเขียวขึ้น หรือการใส่ธาตุแคลเซียมเพื่อแก้ปัญหาใบปลายไหม้ 
  • ปรับปรุงสภาพแวดล้อม ปรับปรุงปัจจัยแวดล้อม เช่น แสงแดด อุณหภูมิ และความชื้น ให้เหมาะสมกับชนิดของต้นไม้ เช่น การย้ายต้นไม้ไปยังที่ที่มีแสงแดดเพียงพอ หรือการติดตั้งระบบพรางแสงในช่วงที่แสงแดดแรงเกินไป 

วิธีการจัดการใบไม้ร่วง

  1. การกำจัดใบไม้อย่างเหมาะสม ควรทำการเก็บกวาดใบไม้ที่ร่วงแล้วออกจากพื้นที่ปลูก เนื่องจากใบไม้ที่ร่วงอาจเป็นแหล่งสะสมของโรคและแมลง การกำจัดสามารถทำได้ด้วยการใช้เครื่องดูดใบไม้หรือการเก็บด้วยมือ โดยต้องทำอย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อรากหรือพื้นดิน
  2. การนำใบไม้มาใช้ประโยชน์ ใบไม้ที่ร่วงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น การทำปุ๋ยหมัก (composting) ซึ่งจะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดิน เพิ่มอินทรียวัตถุ และเสริมธาตุอาหารให้กับต้นไม้ การทำปุ๋ยหมักจากใบไม้ยังเป็นวิธีการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและช่วยลดปริมาณขยะ 
  3. การตัดแต่งใบไม้ที่แห้ง: ใบไม้ที่แห้งบนต้นควรตัดแต่งออก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคและเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของใบใหม่ การตัดแต่งควรใช้เครื่องมือที่สะอาดและคมเพื่อป้องกันการทำให้เกิดบาดแผลที่อาจติดเชื้อ 
  4. การใช้สารป้องกันและกำจัดโรค หากการร่วงของใบเกิดจากการติดเชื้อโรค ควรใช้สารป้องกันและกำจัดโรคที่เหมาะสม เช่น สารป้องกันเชื้อราที่ปลอดภัยและได้รับการรับรอง การใช้สารชีวภาพ (biological agents) ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 
  5. การปรับสภาพแวดล้อม ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับชนิดของต้นไม้ เช่น การเพิ่มแสงสว่างหากต้นไม้ได้รับแสงไม่เพียงพอ หรือการปรับการระบายน้ำให้ดีขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดรากเน่า การควบคุมความชื้นในดินและอากาศรอบ ๆ ต้นไม้ก็เป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันปัญหาใบไม้ร่วง 

SO บริการดูแลสวน ครบวงจร 

   ภายใต้ บริษัท สยามราชธานี จำกัด (มหาชน) หรือ SO ผู้นำด้านธุรกิจ Outsourcing ของไทยที่ยกระดับการให้บริการในทุกมิติติ สู่การเข้าไปร่วมคิด ออกแบบ วางแผน และ กำหนดกลยุทธ์องค์กร หรือ Strategic Partner ให้กับลูกค้า ด้วยประสบการณ์ในการบริหารงานด้านภูมิทัศน์กว่า 40 ปี พร้อมนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยจาก ทั่วโลก เข้ามาพัฒนาบริการให้ตอบโจทย์ลูกค้ามากที่สุด นอกจากนี้เรายังมี benefit อื่นๆที่พร้อมให้คุณได้มากว่าอาทิเช่น       

  • มีทีมรุกขกรและที่ปรึกษาด้านพฤษาศาสตร์ระดับประเทศ   
  • มีการอบรมพัฒนาทักษะและความปลอดภัยในการทำงานก่อนเริ่มงาน    
  • มีทีม QC จากส่วนกลางเข้าตรวจคุณภาพทุกเดือน   
  • มีห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสต์ LAB ในการวิเคาระห์และตรวจสอบดินและปุ่ย  
  • ผ่านมาตรฐาน ด้านการบริหารจัดการ ISO9001 และ มาตรฐานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO14001-2005 และเป็นบริษัท Outsource รายแรกที่ได้ ISO ด้านการลดกระบวนการในการทำงาน หรือ LEAN ISO18404 

สนใจบริการติดต่อ คุณจุ๋ม ที่เบอร์ 090-197-8513
หรือ @LINE : SO GREEN
กรอกแบบฟอร์ม ขอใบเสนอราคา คลิก

สรุป
หากพบว่าใบไม้ร่วงมากเกินไปและไม่เป็นไปตามฤดูกาลปกติ ควรมีการตรวจสอบโดยผูเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง อาจจำเป็นต้องวินิจฉัยโรคหรือปัญหาจากแมลงศัตรูพืช รวมถึงการประเมินสภาพแวดล้อมและการจัดการการดูแลที่เหมาะสม เพื่อฟื้นฟูสุขภาพของต้นไม้ให้กลับมาดีขึ้น 

บริษัท สยามราชธานี จำกัด (มหาชน)

329 ม.10 กุศลส่งสามัคคี ซ.1 ถ.รถรางสายเก่า สำโรง อำเภอพระประแดง สมุทรปราการ 10130     
โทร : 02-363-9300