การ ดูแลสวน ในสภาพอากาศสุดขั้ว พร้อมเทคนิคจากผู้เชี่ยวชาญ

การดูแลสวน

     ภาวะโลกเดือด ทำให้สภาพอากาศแปรปรวนรุนแรง ส่งรกะทบต่อ ต้นไม้และพื้นที่สวนโดยตร โดยเฉพาะในปัจจุบัน (ปลายปี 2567) ที่มีฝนตกชุกหนาแน่น ทำใหพื้นที่สวนในหลายพื้นที่ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นสิ่งท้าทายอย่างมากสำหรับงาน ดูแลสวน  ฝนที่ตกต่อเนื่องอาจทำให้เกิดน้ำท่วมขัง เกิดโรครากเน่า เนื่องจากขาดออกซิเจน ดินถูกชะล้างจนสูญเสียสารอาหารที่จำเป็น ส่งผลให้ต้นไม้และพืชพรรณเจริญเติบโตได้ยากขึ้น นอกจากนี้ ฝนตกหนักยังเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดดินถล่มในพื้นที่ลาดชัน และเสี่ยงเกิดเหตุต้นไม้ล้มและระบบรากถูกทำลาย ตัวอย่างเช่น ในช่วงที่มีพายุฝนต่อเนื่องในหลายพื้นที่ของประเทศ ต้นไม้ใหญ่ในสวนของโรงแรมหรูที่ตั้งอยู่บนพื้นที่โล่งมีโอกาสถูกลมพายุพัด ล้มทับอาคารหรือโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก และการแพร่ระบาดของโรคราน้ำค้างหรือเพลี้ยก็เกิดขึ้นได้ง่ายในสภาพอากาศที่ชื้น ซึ่งหากไม่มีการดูแลควบคุมอย่างทันท่วงที อาจทำให้สวนเสียหายและต้องใช้เวลานานในการฟื้นฟู 

การ ดูแลสวน และผลกระทบต่อธุรกิจที่เลี่ยงไม่ได้ 

     ในภาวะอากาศแปรปรวนรุนแรง ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจให้บริการที่มีกรเน้น ภาพลักษณ์ของสวนที่สวยงาม และงานบริการที่เป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ดีๆ ที่มอบให้กับลูกค้า เช่น สำนักงานใหญ่สำหรับองค์กร ห้างสรรพสินค้า โรงแรม รีสอร์ท หรือร้านอาหาร การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่รุ่นแรง เช่น ฝนตกชุก ลมพายุ และอุณหภูมิที่สูงขึ้นเฉียบพลัน ทำให้พืชพรรณและต้นไม้ในสวนเกิดความเสียหาย ส่งผลกระทบต่อทั้งภาพลักษณ์ของธุรกิจและประสบการณ์ของลูกค้าที่มาใช้บริการ  

  1. ผลกระทบต่อภาพลักษณ์และประสบการณ์ของลูกค้า

   ในกลุ่มธุรกิจ โรงแรมและรีสอร์ท ที่เน้นการสร้างประสบการณ์การพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงามให้กับลูกค้า ซึ่งเป็นหนึ่งในจุดขายของธุรกิจ อาจทำให้ลูกค้าที่มาพักไม่ประทับใจ และเกิดประสบการณ์ที่ไม่ดีกับธุรกิจได้  นอกจากนี้ การที่สวนไม่ได้รับการดูแลหรือฟื้นฟูทันเวลาอาจทำให้ลูกค้ามีความรู้สึกว่าบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกไม่ได้ตรงตามที่คาดหวัง ส่งผลให้รีวิวไม่ดีและยอดจองลดลง 

  1. ต้นทุนในการฟื้นฟูและบำรุงรักษาที่เพิ่มขึ้น

   หลังจากเกิดภาวะอากาศแปรปรวน เช่น พายุฝนหรือน้ำท่วม สวนภายในโรงแรมหรือรีสอร์ทอาจต้องการการฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน เช่น การปลูกพืชใหม่ การซ่อมแซมโครงสร้างและระบบภายในสวนที่เสียหาย หรือการตัดทอนต้นไม้ใหญ่ที่ล้มลงแล้ว การดำเนินการเหล่านี้ล้วนมีต้นทุนที่สูง ไม่ว่าจะเป็นค่าแรงงาน ค่าวัสดุ หรือค่าเครื่องมือ เช่น การใช้รถกระเช้าในการตัดต้นไม้ใหญ่หรือติดตั้งระบบระบายน้ำที่ดีขึ้นเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังภายในพื้นที่ หากธุรกิจไม่สามารถจัดการได้ทันเวลา พื้นที่สวนอาจยังดูไม่พร้อมสำหรับการบริการ อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อรายได้ของธุรกิจ 

  1. ปัญหาด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ

   ปัญหาในงาสวนที่สะสมมานาน ทั้งจากการละเลย และ ขาดความเชี่ยวชาญอาจสงผลชัดเจนในช่วงที่เกิดฝนตกหนักและลมแรง ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาด้านความปลอดภัยภายในบริเวณได้ เช่น ต้นไม้ใหญ่ล้ม หักโค่น กิ่งไม้หักทับสิ่งปลูกสร้าง หรือทางเดินในสวนลื่นจากตะไคร่น้ำ สิ่งเหล่านี้อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุหรือปัญหาสุขอนามัย ทำให้ลูกค้าหรือผู้ใช้งานพื้นที่เกิดอันตรายทั้งต่ชีวิตและทรัพย์สิน ธุรกิจที่ไม่สามารถจัดการความปลอดภัยในสวนได้อย่างมีประสิทธิภาพอาจต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการชดเชยหรือซ่อมแซมในส่วนนี้ 

 

ปัญหางาน ดูแลสวน ที่พบบ่อย พร้อม แนวทางการแก้ไข  

  1. ต้นไม้ล้มและกิ่งไม้หักจากลมแรงและพายุ
  • เมื่อเกิดลมแรงหรือพายุฝน ต้นไม้ใหญ่หรือกิ่งไม้ที่ไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมอาจหักโค่นหรือล้มลง ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้คนหรือทรัพย์สินในบริเวณรอบข้าง นอกจากนี้ยังอาจทำลายโครงสร้างของสวนและภูมิทัศน์โดยรวมขององค์กรได้อีกด้วย 

การป้องกัน: หมั่นตรวจสอบและตัดแต่งกิ่งไม้เป็นประจำ โดยเฉพาะกิ่งไม้ที่แห้งหรือมีความเสี่ยงต่อการหัก ตรวจสอบสุขภาพของต้นไม้เป็นระยะ และใช้ไม้ค้ำหรือการยึดตรึงต้นไม้ใหญ่เพื่อลดโอกาสที่ต้นไม้จะล้มจากลมพายุ 

การแก้ไข: หากต้นไม้ล้ม ควรนำต้นไม้ออกจากพื้นที่อย่างปลอดภัยโดยใช้เครื่องมือเฉพาะทาง เช่น รถกระเช้าหรือเลื่อยยนต์ พร้อมการตรวจสอบความเสียหายต่อรากหรือดินเพื่อป้องกันการเกิดเหตุซ้ำ 

  1. เกิดน้ำท่วมขังภายในบริเวณสวน
  • ฝนตกหนักอาจทำให้พื้นที่สวนเกิดน้ำท่วม โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ไม่มีการวางระบบระบายน้ำที่เหมาะสม น้ำที่ขังอาจทำให้รากต้นไม้เน่า และทำให้ดินสูญเสียความแข็งแรง จนไม่สามารถรองรับน้ำหนักของต้นไม้ได้ และเกิดความเสียหายในบริเวณนั้นทันที 

การป้องกัน: ปรับประดับพร้อมติดตั้งระบบระบายน้ำที่มีประสิทธิภาพ เช่น ท่อระบายน้ำหรือบ่อดักน้ำ พร้อมเลือกปลูกพืชที่ทนต่อความชื้นสูงในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมหรือเป็นจุดระบายน้ำของบริเวณนั้น 

การแก้ไข: หากเกิดน้ำท่วมในสวน ใช้เครื่องปั๊มน้ำหรือระบบระบายน้ำ เพื่อขจัดน้ำออกจากพื้นที่ พร้อมกับปรับปรุงหน้าดินให้สามารถระบายน้ำได้ดียิ่งขึ้นโดยการใช้วัสดุปรับสภาพดิน เช่น ทรายหรือหินกรวด  

  1. การขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง
  • ในช่วงฤดูแล้งหรืออากาศร้อนจัด พืชพรรณในสวนอาจขาดน้ำหากไม่มีการติดตั้งระบบรดน้ำอัตโนมัติหรือแผนการรดน้ำที่เหมาะสม อาจทำให้ต้นไม้และดอกไม้เหี่ยวเฉาและตายได้ในที่สุด 

การป้องกัน: ติดตั้งระบบรดน้ำอัตโนมัติที่สามารถตั้งเวลาได้ และเก็บน้ำฝนไว้ในถังเก็บน้ำเพื่อนำมาใช้ในช่วงฤดูแล้ง หรือในสวนที่ต้องการความเอาใจใส่เป็นพิเศษ จะต้องวางแผนการรดน้ำและบำรุงรักษาอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ควรคลุมดินรอบๆ ต้นไม้ด้วยฟางหรือวัสดุคลุมดินเพื่อลดการสูญเสียความชื้น 

การแก้ไข: ในกรณีที่ต้นไม้เริ่มแสดงอาการขาดน้ำ ให้รดน้ำเป็นพิเศษช่วงเช้าหรือเย็น และใช้วัสดุที่ช่วยเก็บน้ำในดิน เช่น สารอุ้มน้ำ (hydrogel) เป็นต้น 

  1. การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ
  • อุณหภูมิเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น จากอากาศร้อนจัดเป็นเย็นจัด อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้บางชนิด บางครั้งอาจทำให้เกิดอาการช๊อคและหยุดการเติบโต หรือใบและดอกของต้นไม้ไหม้จากความร้อนได้ 

การป้องกัน: ควรเลือกชนิดต้นไม้ที่สามารถปรับตัวเข้ากับอุณหภูมิได้ดี และใช้วัสดุคลุมต้นไม้ เช่น ตาข่ายกรองแสง หรือสร้างร่มเงาเพื่อลดความร้อนในวันที่แดดจัด หรือ เข้าใจนิสัยและความต้องการของต้นไม้แต่ละชนิดภายในสวน  

การแก้ไข: ในช่วงที่อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ควรให้น้ำเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น และตรวจสอบสุขภาพของต้นไม้อยู่เป็นประจำ กำจัดวัชพืชและตัดแต่งกิ่งที่อาจเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ 

  1. โรคและแมลงศัตรูพืชที่ระบาดในสภาพอากาศต่างๆ
  • เมื่อสภาพอากาศมีความชื้นสูง เช่น ในช่วงฤดูฝน และ ต้นฤดูหนาว โรคพืชและแมลงศัตรูพืชมักระบาดได้ง่ายขึ้นเนื่องจากปัจจัยด้านอากาศที่สงเสริมการเจริณเติบโตของเชื้อรา  ไม่ว่าจะเป็นเชื้อราบนใบ หรือตัวอ่อนแมลงกินใบ การดูแลสวนในช่วงนี้ต้องเน้นการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชอย่างรวดเร็วและเป็นระบบ  

การป้องกัน: ใช้สารชีวภาพหรือสารเคมีควบคุมแมลงและโรคพืชตามความเหมาะสม และตรวจสอบสวนเป็นประจำเพื่อปัญหาในระยะแรกได้ทันเวลา นอกจากนี้การใช้ระบบหมุนเวียนอากาศในสวนก็มีส่วนช่วยลดความชื้นสะสม ทำให้ลดโอกาสในการเกิดโรคระบาดได้  

การแก้ไข: เมื่อเกิดการระบาด ควรทำการตัดแต่งและทำความสะอาดส่วนที่ติดเชื้อ ใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชที่เหมาะสม และหมั่นตรวจสอบอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการระบาดซ้ำ  

  1. ดินถล่มและการพังทลายของดิน
  • ในพื้นที่ที่มีภูเขาหรือเนิน การที่มีฝนตกหนักอาจทำให้เกิดดินสไลด์ ดินถล่ม หรือการกร่อนของพื้นดินในสวน ซึ่งทำให้โครงสร้างของสวนและต้นไม้ที่จัดไว้เสียหายอย่างหนัก 

การป้องกัน: ควรป้องกันตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบโดยคำนึงถึง การจัดการพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมปลูกหญ้าคลุมดินหรือพืชที่มีระบบรากลึกเพื่อช่วยยึดดิน และสร้างชั้นหินกรวดและอุปกรณ์ค้ำยันเพื่อป้องกันการพังทลายของดินในพื้นที่ลาดเอียงง 

การแก้ไข: หากดินพังทลาย ใช้วัสดุเสริมความแข็งแรงของดิน เช่น หินหรือท่อนไม้ใหญ่ พร้อมปลูกพืชเพื่อช่วยยึดเกาะดินให้แน่นขึ้น  

  1. รากต้นไม้ถูกทำลายจากความร้อนสูง
  • อุณหภูมิที่สูงมากในช่วงกลางวันอาจทำให้ดินแห้งเร็วและรากพืชไม่ได้รับน้ำที่เพียงพอ ทำให้ระบบรากเสียหาย และต้นไม้ไม่สามารถดูดซึมน้ำและสารอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

การป้องกัน: ใช้วัสดุคลุมดินรอบๆ รากต้นไม้เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ และปลูกพืชพุ่มหรือพืชคลุมดินเพื่อช่วยลดการสะสมความร้อนและรักษาความชุ่มชื้นให้กับรากได้ 

การแก้ไข: ให้รดน้ำอย่างเพียงพอและเสริมสารอาหารที่จำเป็นให้กับพืชเพื่อฟื้นฟูรากที่อาจได้รับความเสียหาย  

  1. หญ้าและวัชพืชเติบโตเร็วในช่วงฤดูฝน
  • ในช่วงฝนตกหนัก หญ้าและวัชพืชต่าง ๆ จะเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ภาพรวมของสวนดูรกและไม่เป็นระเบียบ ผู้ดูแลสวนต้องคอยตัดแต่งและกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้สวนดูเรียบร้อย และในกรณีของสวนที่ถูกวางให้เป็นจุดเด่นในส่วนต่างๆ ยิ่งต้องการการดูแลอย่างเอาใจใส่อย่างมาก เพราะในช่วงที่ฝนตกหนัก ต้นหญ้า 

 

ครูต้อ ธราดล ทันด่วน รุกขกรระดับประเทศและที่ปรึกษาด้านการดูแลต้นไม้ใหญ่ บริษัท สยามราชธานี จำกัด (มหาชน) 

กล่าวว่า  

“ เราต้องเข้าก่อนใจว่าต้นไม้ต้องการอะไรจริงๆในธรรมชาติ ของเขา ไม่ว่าจะเป็น อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน สภาพดิน และ ระบบนิเวศโดยรอบเป็นยังไง  ซึ่งจะสอดคล้องกับการดูแลต้นไม้ ถ้าสภาวะแวดล้อมเหมาะสม ต้นไม้ก็จะสมบูรณ์แข็งแรง ” 

 

พันธุ์ไม้

 

การเตรียมความพร้อมในการ ดูแลสวน สำหรับองค์กร   

   การเตรียมความพร้อมในการดูแลสวนในช่วงที่อากาศแปรปรวนเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรควรให้ความสำคัญ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดจากลมพายุและฝนตกหนัก ความร้อนที่มากดเกินไป รวมถึงอันตรายที่อาจะเกิดขึ้นทั้งกับต้นไม้ในส่วนและทรัพย์สินอื่นๆ  

  1. การตรวจสอบและประเมินความแข็งแรงของต้นไม้ใหญ่

   ในช่วงมรสุม ต้นไม้ใหญ่มักมีความเสี่ยงสูงต่อการโค่นล้มหรือกิ่งหัก ซึ่งสามารถสร้าอันตรายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ ดังนั้นการมี ทีมรุกขกรผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมเข้าตรวจสอบและตัดแต่งกิ่งเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ ต้นไม้ที่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงและรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ . 

  1. การจัดการระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ

   ระบบน้ำ เป็นหนึ่งในความท้าทายที่สำคัญในงานดูแลสวน ไม่ว่าจะเป็นในช่วงฝนตกหนัก หรือหน้าแล้งที่มีแสงแดดรุ่นแรง ดังนั้นองค์กรต้องหมั่นตรวจสอบระบบระบายน้ำในสวนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าน้ำสามารถระบายได้อย่างรวดเร็ว ลดความเสี่ยงของน้ำท่วมขังที่อาจทำลายพืชพรรณและโครงสร้างของสวนของคุณ . 

  1. การเตรียมแผนงานเครื่องมือและทีมงานให้พร้อม

   องค์กรที่เน้นภาพลักษณ์และความสวยงามของสวนเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การทำธุรกิจ ควรให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการทำงานดูแลสวน เนื่องจากพื้นที่สวนภายในองค์กร อาจะเป็นพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมของลูกค้า เป็นมุมพักผ่อนของพนักงาน หรืออาจะเป็นส่วนต้อนรับแขกคนสำคัญได้ ซึ่งหากพื้นที่สวนเหล่านี้่ ขาดการวางแผนการดูแลอย่างถูกวิธีอาจเกิดปัญหาต่างๆที่เสี่ยงต่อภาพลักษณ์องค์กรได้ ไม่ว่าจะเป็น อันตรายจากกิ้งไม้หัก แหล่งเพาะเชื้อรา และ การหักโค่นทับสิ่งของ หรือเป็นแกล่งที่อยู่ของสัตว์มีพิษได้ 

  1. การดูแลและตรวจสุขภาพต้นไม้อย่างต่อเนื่อง

   สภาพอากาศชื้นในช่วงมรสุมสามารถเพิ่มความเสี่ยงของโรคระบาดและแมลงศัตรูพืชได้ หลายบริษัท จึงเน้นการดูแลพืชพรรณด้วยการใช้ปุ๋ยและยาป้องกันโรคตามที่เหมาะสม แต่อาจเป็นการดูแลที่เกินความจำเป็นและทำให้เกิดการดื้อยา ทางที่ดีคือควรเข้าใจ พฤติกรรมของต้นไม้แต่ละชนิด และควบคุมปัจจัยต่างๆ เพื่อช่วยไม่ให้เกิดอาการดื้อยาและได้รับสารเคมีเกินมาตรฐาน เช่น ต้นโพธิ์บางชนิดอาจะผลัดใบเร็วกว่าเดิมในช่วงปลายฝนเนื่องจากสภาพอากาศเปลี่ยน ไม่ได้เกิดจากอาการป่วยหรือติดโรคระบาด ดังนั้นการตรวจสุขภาพต้นไม้อย่างเข้าใจไม่เพียงช่วยบำรุงต้นไม้ให้แข็งแรง แต่ยังป้องกันอาการดื้อยาที่อาจทำให้เสียต้นทุนในการดูแลมากขึ้นในแต่ละช่วงของปีอีกด้วย

  1. ค้ำยันต้นไม้ เตรียมรับมือกับลมพายุ

   ในช่วงมรสุม การติดตามพยากรณ์อากาศอย่างใกล้ชิดและวางแผนล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากพายุลมแรง จะช่วยลดความเสียหายที่เกิดขึ้นจกับพื้นที่สวน รวมถึงชีวิตทรัพย์สินของคนในองค์กรอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น การค้ำยันและยึดตรึงต้นไม้ใหญ่ให้มั่นคง การตรวจสอบระบบระบายน้ำและโครงสร้างของสวนให้พร้อมใช้งานเมื่อเกิดฝนตกหนักหรือลมแรง นอกจากนี้ การเตรียมปรับแต่งพื้นที่สวนที่อาจะได้รับผลกระทบจากลมพายุ ช่วยเป็นการช่วยลดอันตรายกับพรรณไม้หายาก ราคาแพงที่องค์กรหวงแหนอีกด้วย  

        เพื่อให้องค์กรของคุณ เตรียมความพร้อมรับมือกับทุกสภาพอากาศใด้อย่างมั่นคง ยั่งยืน SO GREEN พร้อมส่งทีมผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ ทั้งด้านพืชสวน รุกขกร นักพฤษศาสตร์ และ ผู้จัดการพื้นที่สีเขี่ยว เข้าไปช่วยให้สวนของคุณยังคงสวยงามและปลอดภัย ทั้งยังช่วยปกป้องพื้นที่สีเขียวจากความเสียหาย ทำให้คุณสามารถมั่นใจได้ว่าสวนของคุณจะได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด 

 

SO บริการดูแลสวน ครบวงจร 

   ภายใต้ บริษัท สยามราชธานี จำกัด (มหาชน) หรือ SO ผู้นำด้านธุรกิจ Outsourcing ของไทยที่ยกระดับการให้บริการในทุกมิติติ สู่การเข้าไปร่วมคิด ออกแบบ วางแผน และ กำหนดกลยุทธ์องค์กร หรือ Strategic Partner ให้กับลูกค้า ด้วยประสบการณ์ในการบริหารงานด้านภูมิทัศน์กว่า 40 ปี พร้อมนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยจาก ทั่วโลก เข้ามาพัฒนาบริการให้ตอบโจทย์ลูกค้ามากที่สุด นอกจากนี้เรายังมี benefit อื่นๆที่พร้อมให้คุณได้มากว่าอาทิเช่น       

  • มีทีมรุกขกรและที่ปรึกษาด้านพฤษาศาสตร์ระดับประเทศ   
  • มีการอบรมพัฒนาทักษะและความปลอดภัยในการทำงานก่อนเริ่มงาน    
  • มีทีม QC จากส่วนกลางเข้าตรวจคุณภาพทุกเดือน   
  • มีห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสต์ LAB ในการวิเคาระห์และตรวจสอบดินและปุ่ย  
  • ผ่านมาตรฐาน ด้านการบริหารจัดการ ISO9001 และ มาตรฐานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO14001-2005 และเป็นบริษัท Outsource รายแรกที่ได้ ISO ด้านการลดกระบวนการในการทำงาน หรือ LEAN ISO18404 

สนใจบริการติดต่อ คุณนัท ที่เบอร์ 090-197-8513
หรือ @LINE : SO GREEN
กรอกแบบฟอร์ม ขอใบเสนอราคา คลิก

สรุป
การดูแลสวน ในช่วงที่สภาพอากาศแปรปรวนสุดขั้ว เป็นสิ่งสำคัญที่ธุรกิจควรให้ความสำคัญ เพื่อป้องกันความเสียหายทั้งต่อต้นไม้และโครงสร้างพื้นฐาน SO GREEN แนะนำการตรวจสอบและตัดแต่งต้นไม้ การวางระบบระบายน้ำที่มีประสิทธิภาพ และการเตรียมแผนรับมือกับสภาพอากาศล่วงหน้า เพื่อให้สวนยังคงสวยงามและปลอดภัย